วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ น. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวสุนทรพจน์เป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมือต่อ หลักการแนวปฏิบัติแรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) อนาคตของอุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเลของไทย โดยมี Mr. Mauurizio Bussi ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศไทย กัมพูชา และลาว และ Mrs. Luisa Ragher อุปทูตของคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ร่วมแสดงเจตนารมณ์ว่า ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำงานในภาคประมง ภาครัฐ ผู้ประกอบการ แรงงาน และนักวิชาการจะได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงาน และเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมประมง ทะเลของประเทศไทย อุตสาหกรรมประมงและแปรรูปอาหารทะเลมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความ เจริญโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิที่จะต่อยอดไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มใน ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารแปรรูปที่เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย อย่างไรก็ตามจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในอดีตในการทำงานในภาคประมงทะเลไม่ได้รับการ ดูแลเท่าที่ควร ทำให้เกิดความเสี่ยงที่แรงงานจะถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม รัฐบาลและกระทรวงแรงงานได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นในภาคประมงของ ไทย จึงได้มีการร่วมมือกับทุกภาคส่วนดำเนินการอย่างเต็มความสามารถในการที่จะ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องของการยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงเรื่องของการทำงาน และตัวแรงงาน อีกทั้งรัฐบาลไทยได้ประกาศให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เป็นวาระ แห่งชาติ ในส่วนของกระทรวงแรงงานที่มีภารกิจหลังในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ของ ประเทศได้ดำเนินการอย่างจริงจังภายใต้นโยบาย Zero Torrent ที่มุ่งที่จะขจัดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาแรงงานต่างชาติ แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงาน การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ซึ่งแนวการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานหรือ Good Labour Practices : GLP จะเป็นเครื่องมือและเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวต่อไป โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมประมงทะเลและแปรรูปอาหารทะเล ที่มีลักษณะเฉพาะของการทำงานและสภาพการจ้าง ซึ่ง GLP เป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานของความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของผู้ ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายในการที่จะกำหนดหลังการและแนวทางปฏิบัติที่ ถูกต้องตามหลักกฎหมายเหมาะสมกับสภาพของอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ปัจจุบัน ด้วยความร่วมมือกับทุกภาคส่วน การสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการสิทธิจากเรือสู่ฝั่งหรือ Ship to Shore Rights ได้จัดทำ GLP สำหรับอุตสาหกรรมประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำขึ้น เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้สถานประกอบการนำไปใช้ในการยกระดับแนวปฏิบัติด้าน แรงงานของตน ซึ่งขณะนี้มีสถานประกอบการที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการแล้ว ๘๘ แห่ง จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนี้ ๑๕๐ แห่ง นอกจากนี้ยังได้ขยายผลไปยังอุตสาหกรรมสัตว์ปีก โดยมีสถานประกอบการเข้าร่วมทั้งสิ้น ๓,๔๓๕ แห่ง รวม ๓,๕๒๓ แห่ง ครบคลุมการจ้างงานมากกว่า ๓๐,๐๐๐ อัตรา พร้อมเร่งรัดอีก ๕๐๐ สถานประกอบการที่เหลือภายในปีนี้ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังมีแผนที่จะขยายผลไปยังกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสัตว์อื่นๆ อ้อย สิ่งทอ โดยจัดทำ GLP สำหรับกิจการทั่วไป เพื่อให้สถานประกอบการนำไปใช้เป็นแนวทางก้าวไปสู่การบริหารจัดการที่เป็น มาตรฐาน คำนึงถึงสิทธิผู้ทำงาน ความรับผิดชอบต่อสังคมให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงแรงงาน เน้นย้ำเรื่องของทิศทางเรื่องการค้าและค่านิยมของผู้บริโภคในศตวรรษที่ ๒๑ ความได้เปรียบเรื่องของต้นทุนหรือคุณภาพสิ้นค้าไม่ใช่เป็นปัจจัยที่จะชี้วัด ถึงความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาว แต่เรื่องการปรับตัวเพื่อมุ่งสู่ความมีมาตรฐานและความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม ต่อผู้ทำงาน และต่อสังคมจะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความยั่งยืน และทำให้ธุรกิจสามารถที่จะเติบโตมีการแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ
พล เอก ศิริชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ ๑๑ มิถุนายนที่จะถึงนี้ มีกำหนดการเดินทางไปเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อลงสัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ. ๑๙๕๘ (พ.ศ. ๒๕๐๑) ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นตอนหนึ่งของรัฐบาล และกระทรวงแรงงานในการลงสัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้ ที่จะเกี่ยวโยงกับแก้ไขการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ ที่ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาล ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
"ทุกวันนี้ยังคงมีอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงาน จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต โดยเกิดจากความหละลวมใส่ใจเรื่องความปลอดภัย แม้จะมีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง แต่เหตุการณ์ก็ยังเกิดครับ เราจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ติดตามกับ ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย สดจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน"
"วันนี้กระทรวงแรงงานจัดงาน วันความปลอดภัยในการทำงานสากล 10 พฤษภาคม เพื่อร่วมรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการทำงาน พร้อมขับเคลื่อน นโยบาย safety Thailand มุ่งสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยแบบจำลองไซต์งานก่อสร้างที่มีระบบควบคุมความปลอดภัย ถูกจัดแสดงภายในงานวันความปลอดภัยในการทำงานสากล เพื่อเป็นต้นแบบในการลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่เตือนผู้ปฏิบัติงานว่าเครืองจักกำลังทำงานอยู่ หรือส่วนนี้กำลังได้รับการซ่อมแซม รวมไปถึงขีดจำกัดของเครืองจักรว่าสามารถรับน้ำหนักสิ่งของได้เท่าไหร่ เป็นต้นจากกรณี อุบัติเหตุรถเครนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงที่กำลังยกแผ่นปูนคว่ำ บริเวณหน้าวัดดอนเมือง ทำให้ทีผู้เสียชีวิต 3 คน นั้น นายไชยวัตร พานวงศ์ safety supervisor petrochemical มาบตาพุด บอกว่า เกิดจากความหละลวมไม่เคร่งครัดในระบบความปลอดภัยด้านรองปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญเลิศ ธีระตระกูล บอกว่า บทเรียนจากโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อ 19 ปีก่อน ทำให้มีแรงงานเสียชีวิตถึง 188 คน และทำให้เด็กกำพร้าพ่อแม่อีกกว่า 50 คน ภายหลังพบว่าระบบความปลอดภัย ของโรงงานไม่ได้มาตรฐานหลายอย่าง กระทรวงแรงงานจึงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของผู้ใช้แรงงานมาอย่างต่อเนื่องโดยเร่งรัดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยปัจจุบันขับเคลื่อนนโยบาย safety thailand ตามกลไกประชารัฐให้เกอดวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานเกิดขึ้นในสังคม"
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน บอกว่า คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ได้พิจารณาอนุมัติวงเงินกู้จำนวน 37 ล้านบาท ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการ 4 แห่ง คือสหกรณ์ออมทรัพย์ เอส พี เอส จำกัด จำนวน 10 ล้านบาท
"สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานคลังพลาซ่า จำกัด 7 ล้านบาท และพิจารณาคำขอกู้ในโครงลดภาระหนี้เพื่อสร้างสุขแก่แรงงานให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าวหงษ์ทอง (กลุ่มเจียเม้ง) จำกัด 10 ล้านบาท และสหกรณ์ออมทรัพย์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ 10 ล้านบาท รวมวงเงินที่อนุมัติจำนวน 37 ล้านบาท มีสมาชิกได้รับประโยชน์ รวม 2,492 คน ให้กู้เพื่อนำไปปลดเปลื้องภาระหนี้สินนอกระบบ"
พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาผู้บริหารกระทรวงแรงงานเพื่อก้าวสู่ผู้บริหารมืออาชีพ ระหว่างวันที่ 23 – 25 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยกล่าวว่า รัฐบาลโดยการนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้วางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีข้างหน้า ต้องไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ไปสู่ 4.0 มีความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน แต่ยังยึดถือเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ และได้วางยุทธศาสตร์ไว้ 6 ด้าน ความมั่นคง ขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพในการบริหาร จึงได้นำเอายุทธศาสตร์นี้มาใช้ โดยจะทำให้กระทรวงแรงงานเป็นกระทรวงที่ได้มาตรฐานอาเชียน
โดยขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วน 11 ด้าน นโยบายระดับพื้นที่(Area Based) เพื่อจัดระบบการทำงานที่เชื่อมโยงเเละบูรณาการร่วมกัน 4 ด้าน และนโยบายบริหารการพัฒนา โดยเน้นความมีเอกภาพ 6 ด้าน ซึ่งในวันนี้ถือเป็นการพัฒนาคนตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยการเริ่มต้นที่ตนเอง และการมีส่วนร่วม ซึ่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับสูง กรม แรงงานจังหวัดต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวนำไปสู่การขับเคลื่อนงานของกระทรวง เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล มองเหตุปัจจัยให้รอบด้าน ตอบโจทย์ของประเทศได้ตรงประเด็น และอุทิศตนเพื่อองค์กรและเกิดประโยชน์แก่ประชาชน พร้อมพัฒนาคนรุ่นหลังให้มีความรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงแรงงานตั้งแต่ระดับบริหารต้นขึ้นไป ข้าราชการฝ่ายการเมือง และผู้เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 600 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมความรู้ แนวคิด สมรรถนะ ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารให้สอดรับกับการดำเนินงานตามนโยบายและภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาทีมงานของกระทรวงแรงงานให้มีประสิทธิภาพสามารถขับเคลื่อนภารกิจด้านแรงงานสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐ ให้สามารถนำทีมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืน